At FORUM-ASIA, we employ a range of strategies to effectively achieve our goals and create a lasting impact.

Through a diverse array of approaches, FORUM-ASIA is dedicated to achieving our objectives and leaving a lasting imprint on human rights advocacy.

Who we work with

Our interventions are meticulously crafted and ready to enact tangible change, addressing pressing issues and empowering communities.

Each statements, letters, and publications are meticulously tailored, poised to transform challenges into opportunities, and to empower communities towards sustainable progress.

Multimedia Stories
publications

With a firm commitment to turning ideas into action, FORUM-ASIA strives to create lasting change that leaves a positive legacy for future generations.

Explore our dedicated sub-sites to witness firsthand how FORUM-ASIA turns ideas into action, striving to create a legacy of lasting positive change for future generations.

Subscribe our monthly e-newsletter

ANNI – Thailand: Recent Developments Show the Urgent Need for Structural Changes of NHRCT

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

(Scroll down for a Thai version of the statement)

The Asian NGO Network on National Human Rights Institutions (ANNI) is greatly concerned with alarming developments within the National Human Rights Commission of Thailand (NHRCT). A clear sign of internal conflict within the NHRCT emerged after one of the Commissioners, Surachet Satitniramai, resigned due to dissatisfaction with the management and the working system under the administration of the current Chairperson.[1] In response to Surachet’s resignation, the Chairperson stated that the vacant Commissioner’s post will not be filled until the entry into force of the Organic Law or the issuance of a new Order.[2]

We are concerned that not only this reaffirms the poor standards of the selection and appointment process of the NHRCT, but also will further restrict effective performance of the Commission given the delay in appointing a new Commissioner.

ANNI previously assessed that the lack of a participatory, transparent, and merit-based selection process for NHRCT’s Commissioners was to affect the credibility of, and public confidence in the Commission.[3] Of the nominees in 2015, only one candidate, Angkhana Neelapaijit, had clear expertise or experience in the area of human rights.

ANNI calls on the current leadership of the NHRCT to strengthen the effective performance of what was supposed to be a credible and independent institution for the promotion and protection of human rights in Thailand. Instead of focusing on majority or minority position on resolutions taken by the Commission,[4] it is now the time for the Chairperson to address the issue of pluralism in the composition of the NHRCT, which is fundamentally linked to the requirement of independence, credibility, effectiveness, and accessibility.

With regard to engagement with civil society and international stakeholders in the protection of human rights, ANNI is of the view that this will lead to greater public legitimacy as well as better understanding of human rights issues by the NHRCT.[5] Sub-Committee on Accreditation (SCA) of the Global Alliance of National Human Rights Institutions (GANHRi) has also noted that engagement with international bodies is an important dimension of National Human Rights Institutions (NHRIs)’s work, through which NHRIs reinforce their independence and effectiveness.[6]

During these critical times of human rights protection in Thailand, ANNI strongly calls on the NHRCT to conduct themselves with a heightened level of independence and effectiveness. Structural changes within the NHRCT are indisputably required to guarantee a Paris Principles-compliant Commission. Key issues within the Commission must be addressed through the new organic law of the NHRCT that is currently being drafted. This includes, among others, better provisions on the selection and appointment process of the Commissioners; functional immunity; ability to address human rights issues in a timely manner; and independence and neutrality.

The current conflict within the Commission, and what has been reported as a weak leadership of the Chairperson, will further hold back the fulfilment of the purpose of the NHRCT, being an independent body mandated to promote and protect human rights in Thailand. ANNI reiterates its long-standing concerns that the new organic law on the NHRCT needs to be in full compliance with the Paris Principles,[7] and that the Thai Government is responsible for ensuring the existence of a Paris Principles-compliant NHRCT.

About the Asian NGOs Network on National Human Rights Institutions (ANNI):

The Asian NGOs Network on National Human Rights Institutions (ANNI) was established in December 2006. It is a network of Asian non-governmental organisations and human rights defenders working on issues related to National Human Rights Institutions (NHRIs). ANNI has members that are national organisations from all over Asia. ANNI currently has 33 member organisations from 21 countries or territories. The work of ANNI members focuses on strengthening the work and functioning of Asian NHRIs to better promote and protect human rights as well as to advocate for the improved compliance of Asian NHRIs with international standards, including the Paris Principles and General Observations of the Sub-Committee on Accreditation (SCA) of the Global Alliance of NHRIs (GANHRI).

For further inquiries, please contact:

****

For the PDF version of this statement, click here.

[1] The Nation, Surachet quits to highlight problems within NHRC.
[2] NHRCT, Statement by the Chairperson of the NHRCT regarding Resignation of the Commissioner.
[3] FORUM-ASIA, ANNI – Thailand: Flawed Selection Process Leads to Controversial Human Rights Commission.
[4] NHRCT, Statement by the Chairperson of the NHRCT regarding Resignation of the Commissioner,Point 5.
[5] GANHRI, General Observations of the Sub-Committee on Accreditation.
[6] GANHRI, General Observations of the Sub-Committee on Accreditation.
[7] The Paris Principles relating to the Status of National Institutions

แถลงการณ์เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนเอเชียว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ (ANNI) เรื่อง ความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (NHRCT) สืบเนื่องจากเหตุการณ์ล่าสุด

เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนเอเชียว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ (ANNI) ขอแสดงความกังวลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) สัญญาณของความขัดแย้งภายในองค์กรของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติปรากฎอย่างชัดเจนสืบเนื่องจากการยื่นหนังสือลาออกของนพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย หนึ่งในกรรมการของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติซึ่งอ้างเหตุผลเรื่องความไม่พอใจต่อการจัดการและระบบการทำงานภายใต้การบริหารงานของประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ[1] ทั้งนี้ นาย วัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษชนแห่งชาติได้ออกคำแถลงต่อการลาออกของ นพ.สุรเชษฐ์ ว่า จะไม่มีการสรรหาบุคคลในตำแหน่งกรรมการที่ว่างลงจนกว่ากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญจะมีผลบังคับใช้ หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น[2]

พวกเราขอแสดงความกังวลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเหตุการณ์นี้ถือเป็นการยืนยันอีกครั้งถึงกระบวนการสรรหาและแต่งตั้งของกสม.ที่ยังมีมาตรฐานไม่ดีพอ และส่งผลเป็นการจำกัดประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อันเป็นผลสืบเนื่องจากความล่าช้าของกระบวนแต่งตั้งกรรมการใหม่

เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนเอเชียว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ (ANNI) ได้เคยประเมินถึงกระบวนการสรรหาคณะกรรมการของกสม. ที่ยังขาดการมีส่วนร่วม ความโปร่งใส และไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการคัดเลือกบุคคลจากคุณสมบัติ โดยกระบวนการสรรหาดังกล่าวย่อมส่งผลต่อความน่าเชือถือและความไว้เนื้อเชื่อใจของประชาชนต่อตัวคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ[3] ซึ่งปรากฎเห็นได้ชัดจากกรณีผู้ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นคณะกรรมการในปีพ.ศ. 2558 นั้น มีผู้ได้รับเลือกคือ อังคณา นีละไพจิตร เพียงคนเดียวเท่านั้นที่มีความเชี่ยวชาญหรือเคยมีประสบการณ์ตรงต่อสายงานทางด้านสิทธิมนุษยชน

เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนเอเชียว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ (ANNI) ขอเรียกร้องต่อประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่จะดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะองค์กรซึ่งสมควรจะมีความน่าเชื่อถือและเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดยแทนที่จะให้ความสำคัญต่อเสียงข้างมากหรือเสียงข้างน้อยในการลงมติของคณะกรรมการฯ[4] ตรงกันข้าม นี่ถือเป็นช่วงเวลาอันเหมาะสมที่ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะต้องหยิบยกประเด็นในเรื่องความหลากหลายภายในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้นมาแก้ไข ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วถือเป็นเรื่องที่เชื่อมโดยตรงไปยังความจำเป็นที่องค์กรจะต้องมีความเป็นอิสระ ความน่าเชื่อถือ ความมีประสิทธิภาพ และเข้าถึงประชาชนได้อย่างทั่วถึง

ทั้งนี้ เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนเอเชียว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ (ANNI) มีความเห็นว่า ผ่านการเข้าไปมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อภาคประชาสังคมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดในทางระหว่างประเทศต่อประเด็นการปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างเพียงพอ ถึงจะทำให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้รับความชอบธรรมที่มากขึ้นจากประชาชน และทำให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมีความเข้าใจที่ดีขึ้นต่อประเด็นสิทธิมนุษยชน[5] คณะอนุกรรมการประเมินสถานะ (Sub-Committee on Accreditation: SCA) ของ Global Alliance of National Human Rights Institutions หรือ GANHRI ก็ได้ให้ข้อสังเกตว่ากระบวนการมีส่วนร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศถือเป็นมิติที่สำคัญต่อการทำงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (National Human Rights Institutions: NHRIs) ผ่านการเพิ่มความเป็นอิสระและความมีประสิทธิภาพของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ[6]

ในช่วงเวลาอันวิกฤตของการปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนเอเชียว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ (ANNI) ขอเรียกร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการยกระดับการทำงานที่จะเพิ่มในแง่ของความเป็นอิสระและความมีประสิทธิภาพขององค์กร ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างต่างๆภายในองค์กรของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างไม่มีเงื่อนไขที่จะทำให้โครงสร้างขององค์กรสอดคล้องกับหลักการปารีสตามคณะกรรมการว่าด้วยการบังคับการ (Paris Principles-compliant Commission) ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญต่างๆภายในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไม่ว่าจะเป็นการจัดการที่ดีกว่าเดิมในเรื่องกระบวนการสรรหาและแต่งตั้งของคณะกรรมการ, ความคุ้มกันอย่างแท้จริงต่อการทำหน้าที่, ประสิทธิภาพในการรับมือประเด็นสิทธิมนุษยชนภายในเวลาที่เหมาะสม, ความเป็นอิสระและเป็นกลางขององค์กร ฯลฯ ต้องได้รับการแก้ไขผ่านพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการร่าง

ความขัดแย้งปัจจุบันที่เกิดขึ้นภายในคณะกรรมการ ประกอบกับรายงานที่กล่าวถึงความขาดภาวะผู้นำของประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สิ่งเหล่านี้จะทำให้การบรรลุวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการเป็นองค์กรอิสระที่ส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยเป็นเรื่องที่ยากขึ้น ดังนี้ เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนเอเชียว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ (ANNI) ขอตอกย้ำถึงความกังวลที่มีมานานต่อร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติใหม่ซึ่งจะต้องมีเนื้อหาที่สอดคล้องตามหลักการปารีส (Paris Principles)[7] และ รัฐบาลไทยต้องรับผิดชอบในการทำให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติดำเนินการอย่างสอดคล้องกับหลักการปารีส

For the PDF version of this statement in Thai, click here.

[1] The Nation, Surachet quits to highlight problems within NHRC

[2] กสม., คำแถลงของประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่องการลาออกของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

[3] FORUM-ASIA, ANNI – Thailand: Flawed Selection Process Leads to Controversial Human Rights Commission.

[4] กสม., คำถาม-คำตอบข้อที่ 5, คำแถลงของประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่องการลาออกของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ,

[5] GANHRI, General Observations of the Sub-Committee on Accreditation.

[6] GANHRI, General Observations of the Sub-Committee on Accreditation.

[7] หลักการปารีสว่าด้วยสถานะของสถาบันแห่งชาติ – The Paris Principles relating to the Status of National Institutions