At FORUM-ASIA, we employ a range of strategies to effectively achieve our goals and create a lasting impact.

Through a diverse array of approaches, FORUM-ASIA is dedicated to achieving our objectives and leaving a lasting imprint on human rights advocacy.

Who we work with

Our interventions are meticulously crafted and ready to enact tangible change, addressing pressing issues and empowering communities.

Each statements, letters, and publications are meticulously tailored, poised to transform challenges into opportunities, and to empower communities towards sustainable progress.

Multimedia Stories
publications

With a firm commitment to turning ideas into action, FORUM-ASIA strives to create lasting change that leaves a positive legacy for future generations.

Explore our dedicated sub-sites to witness firsthand how FORUM-ASIA turns ideas into action, striving to create a legacy of lasting positive change for future generations.

Subscribe our monthly e-newsletter

Thailand: ANNI Open Letter concerning the disciplinary inquiry against Commissioner, Angkhana Neelapaijit

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

(Scroll down for a Thai version of the open letter)

To: Chairperson What Tingsamitr

Cc: Commissioner Chatsuda Chandeeying, Commissioner Prakairatana Thontiravong, Commissioner Tuenjai Deetes, Commissioner Chartchai Suthiklom, Commissioner Angkhana Neelapaijit and Secretary-General Sophon Jingjit

Office of the National Human Rights Commission of Thailand
The Government Complex Commemorating His Majesty the King’s 80th Birthday Anniversary 5th December, B.E.2550 (2007)
120 Chaengwattan Road, Lak Si Intersection, Bangkok 10210

14 May 2019,

Re: ANNI Open Letter concerning the disciplinary inquiry against Commissioner, Angkhana Neelapaijit

Dear Mr. Chairman,

The Asian NGO Network on National Human Rights Institutions (ANNI) expresses deep concern regarding the disciplinary inquiry conducted by the National Human Rights Commission of Thailand (NHRCT) against Commissioner Angkhana Neelapijit. We understand that the inquiry was initiated after comments were made by Tuang Attachai, a National Legislative Assembly (NLA) member, and a reported complaint was submitted to the Commission by Surawat Sangkhareuk.

On 23 April 2019, the NLA held a parliamentary session to discuss both the annual report produced by NHRCT on the human rights situation of Thailand, and the performance review of the NHRCT. Tuang Attachai implicitly attacked Commissioner Angkhana by referring to one commissioner being involved in a political case and that this commissioner should not be observing such cases. The political case in question is believed to be the charges filed against Piyabutr Saengkanokkul, the Secretary General of the Future Forward Party, for computer crimes and contempt of court offences. We understand that one week after this parliamentary session, the NHRCT initiated the disciplinary inquiry into the conduct of Commissioner Angkhana.

The Paris Principles set out the necessary guarantees of independence for National Human Rights Institutions (NHRIs).1 NHRIs should be empowered to freely consider any question falling within their competence. They should be able to determine which of their functions they give priority in the performance of their mandate. NHRIs should also be able to determine their own findings, conclusions and recommendations over the course of their work.2 In undertaking their mandate, NHRIs should be able to implement their activities in full independence, free from any political pressure, physical intimidation or harassment.3

According to the NHRCT Act 2017, the NHRCT is mandated to monitor the human rights situation in the country. This includes monitoring human rights compliance during specific events, such as: political gatherings; imprisonment; legal proceedings; and elections. In emergency cases, where a situation arises that seriously affects or is itself a violation of human rights, the Commission should and can address the case without delay, and propose appropriate measures and ways to prevent or remedy the situation.4

We are of the view that Commissioner Angkhana was exercising the monitoring function of the NHRCT. In such a scenario, the NHRCT acts preventively, seeking to deter violations by the presence of its representatives as observers and reporters.5 Instead of scrutinising her, the NHRCT, under your leadership should have supported her, as she was upholding the mandate of the Commission. Despite the challenging context in which the NHRCT operates, the Commission is expected to continue to conduct itself with a heightened level of independence and effectiveness.

ANNI would like to therefore urgently request you to cease this groundless inquiry. We call on you, as the Chair, to strengthen the performance of what was supposed to be an independent and credible institution for the promotion and protection of human rights in Thailand. Moreover, we reiterate our call for the NHRCT to fully comply with the Paris Principles.

Yours Sincerely,

John Samuel
Executive Director
Asian Forum for Human Rights and Development
ANNI Secretariat

About the Asian NGOs Network on National Human Rights Institutions (ANNI):

The Asian NGOs Network on National Human Rights Institutions (ANNI) was established in December 2006. It is a network of Asian non-governmental organisations and human rights defenders working on issues related to National Human Rights Institutions (NHRIs). ANNI has members that are national organisations from all over Asia. ANNI currently has 33 member organisations from 21 countries or territories. The work of ANNI members focuses on strengthening the work and functioning of Asian NHRIs to better promote and protect human rights as well as to advocate for the improved compliance of Asian NHRIs with international standards, including the Paris Principles and General Observations of the Sub-Committee on Accreditation (SCA) of the Global Alliance of NHRIs (GANHRI).

***

For a PDF version of this open letter in English, click here

1 Principles Relating to the Status and Functioning of National Institutions for the Protection and Promotion of Human Rights (The Paris Principles), para C (A)

2 https://www.asiapacificforum.net/support/what-are-nhris/independence/

3 Human Rights Council Resolution, A/HRC/39/L.19/Rev.1, http://undocs.org/en/A/HRC/39/L.19/Rev.1

4 NHRC Act 2017, Article 40 clause (2) and (4), Article 41, Article 42

5 https://www.asiapacificforum.net/support/what-are-nhris/fact-sheet-6-monitoring-human-rights/

เรียน ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายวัส ติงสมิตร
cc: นางฉัตรสุดา จันทร์ดียิ่ง กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, นางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, นายชาติชาย สุทธิกลม กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, และ นายโสพล จริงจิตร เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ชั้น 6-7 120 หมู่ที่ 3
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒

เรื่อง: จดหมายเปิดผนึกเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนเอเชียว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติต่อกรณีการสอบสวนทางวินัยต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นางอังคณา นีละไพจิตร

เรียน ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนเอเชียว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ (ANNI) ขอแสดงความกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อกรณีการสอบสวนทางวินัยที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นางอังคณา นีละไพจิตร ทั้งนี้ ANNI ทราบว่าการไต่สวนดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นภายหลังจากการอภิปรายโดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นายตวง อันทะไชย  และต่อมาการร้องเรียนดังกล่าวได้ถูกส่งไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติโดยนายสุรวัชร สังขฤกษ์

เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๒ สนช.ได้จัดการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยมีวาระการพิจารณาเรื่องรายงานการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย และรายงานผลปฏิบัติงานของกสม. โดยในระหว่างการประชุม สมาชิกสนช. นาย ตวง อันทะไชย ได้อภิปรายเป็นเชิงนัยโจมตีกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นางอังคณา นีละไพจิตร โดยกล่าวอ้างถึงการที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคนหนึ่งเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีทางการเมืองซึ่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไม่ควรเข้าไปสังเกตการณ์คดีเหล่านั้น คดีการเมืองดังกล่าวเชื่อได้ว่าเป็นคดีที่นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ถูกตั้งข้อหาเพื่อพิจารณาคดีความผิดฐานนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และความผิดฐานดูหมิ่นศาล ทั้งนี้ ANNI ทราบว่า ภายในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์หลังจากการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติดังกล่าว ทางกสม.ก็ได้ริเริ่มการสอบสวนทางวินัยต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นางอังคณา นีละไพจิตร

หลักการปารีส (The Paris Principles) ได้กำหนดหลักประกันความเป็นอิสระของสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติเอาไว้[1] โดยสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติควรได้รับมอบอำนาจหน้าที่ที่จะพิจารณาได้อย่างอิสระต่อเรื่องใดๆก็ตามที่อยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ขององค์กร สถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติควรสามารถที่จะกำหนดได้ว่าอาณัติใดขององค์กรที่สมควรให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กร นอกจากไปนี้ สถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติควรสามารถที่จะอำนาจตัดสินใจต่อ ผลการวินิจฉัยข้อเท็จจริง ข้อสรุป และข้อเสนอแนะสืบเนื่องจากการทำงานภายใต้ของขอบเขตหน้าที่ขององค์กร[2]  ดังนี้ ในการปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ขององค์กร สถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ ควรสามารถดำเนินการให้เป็นผลภายใต้ขอบเขตขององค์กรได้อย่างเป็นอิสระ ปราศจากซึ่งแรงกดดันทางการเมือง การข่มขู่ที่จะถูกทำร้ายร่างกาย หรือ การคุกคามใดๆ[3]

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้บัญญัติขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกสม.ในการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศ อำนาจหน้าที่เหล่านี้ย่อมรวมไปถึงการตรวจสอบการปฏิบัติตามพันธะกรณีด้านสิทธิมนุษยชนในเหตุการณ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็น การชุมนุมทางการเมือง การจำคุก กระบวนพิจารณาตามกฎหมาย และการเลือกตั้ง ในกรณีฉุกเฉินที่มีสถานการณ์อันกระทบหรือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นอย่างร้ายแรง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรสามารถจัดการกับกรณีดังกล่าวได้โดยไม่ชักช้า และ เสนอมาตรการและวิธีการที่เหมาะสมเพื่อป้องกันหรือเยียวยาสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าว[4]

ANNI มีความเห็นว่าการกระทำของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นางอังคณา นีละไพจิตร เป็นการกระทำภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกสม.ในด้านการเฝ้าสังเกตการณ์ ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ย่อมถือเป็นการกระทำอันเป็นปกติของกสม. เพื่อเป็นการป้องกัน และยับยั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชน ผ่านการแสดงตนในนามตัวแทนของกสม.ภายใต้สถานะผู้สังเกตการณ์และผู้รายงานในสถานการณ์นั้นๆ[5] แทนที่จะดำเนินการสอบสวนทางวินัย กสม. ภายใต้การนำของท่าน สมควรที่จะสนับสนุนกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นางอังคณา นีละไพจิตร ซึ่งได้ดำเนินการตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกสม. ภายใต้บริบทที่ท้าทายต่อการปฏิบัติงานของกสม. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติยิ่งถูกคาดหวังให้ดำรงไว้ซึ่งการปฏิบัติอำนาจหน้าที่ของตนด้วยความเป็นอิสระและความมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น

ดังนี้ ANNI จึงเรียกร้องให้ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน นายวัส ติงสมิตร ยุติการสอบสวนที่ไม่มีมูลนี้อย่างเร่งด่วน ANNI ขอเรียกร้องให้คุณในฐานะประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กระทำการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของกสม.ซึ่งสมควรจะเป็นสถาบันที่อิสระและน่าเชื่อถือต่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย นอกจากนี้ ANNI ขอตอกย้ำข้อเรียกร้องให้กสม.ปฏิบัติตามหลักการปารีสอย่างครบถ้วน

ขอแสดงความนับถือ

จอห์น ซามูเอล
กรรมการบริหาร
สภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเซีย (FORUM-ASIA)
สำนักเลขาธิการ เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนเอเชียว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ  (ANNI)

เกี่ยวกับ เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนเอเชียว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ (ANNI):

ANNI ถูกก่อตั้งขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยเป็นเครือข่ายขององค์กรพัฒนาเอกชนและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในเอเชียที่ทำงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ (NHRIs) ANNI มีสมาชิกที่เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนจากทั่วเอเชีย โดยปัจจุบัน ANNI มีองค์กรสมาชิกทั้งหมด 33 องค์กรจาก 21 ประเทศหรืออาณาเขตต่างๆในเอเชีย การทำงานของสมาชิกของ ANNI มุ่งเน้นที่การเสริมสร้างการทำงานและการปฏิบัติหน้าที่ของสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติในเอเชีย เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้ง สนับสนุน การปฏิบัติตามมาตรฐานสากลของสถาบันดังกล่าวตามหลักการปารีส (Paris Principles) และ ข้อสังเกตทั่วไปของอนุกรรมการประเมินสถานะของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (SCA) ของเครือข่ายพันธมิตรสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (GANHRI)

***

For a PDF version of this open letter in Thai, click here.

[1] Principles Relating to the Status and Functioning of National Institutions for the Protection and Promotion of Human Rights (The Paris Principles),  para C (A)

[2] https://www.asiapacificforum.net/support/what-are-nhris/independence/

[3] Human Rights Council Resolution, A/HRC/39/L.19/Rev.1,  http://undocs.org/en/A/HRC/39/L.19/Rev.1

[4] พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๔๐ วรรค ๒ และ วรรค ๔, มาตรา ๔๑ และ มาตรา ๔๒

[5] https://www.asiapacificforum.net/support/what-are-nhris/fact-sheet-6-monitoring-human-rights/